On-Grid, Off-Grid หรือ Hybrid? ระบบโซล่าเซลล์แบบไหนที่ใช่สำหรับคุณ

หลายคนอาจจะเคยสงสัยว่าระบบโซล่าเซลล์แต่ละระบบที่ได้ยินกันบ่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นระบบออนกริด ระบบออฟกริด ระบบไฮบริด แต่ละตัวมีความแตกต่างกันอย่างไร อยากติดโซล่าเซลล์ไม่ใช่ว่านำแผงไปติดบนหลังคาอย่างนั้นเลยหรือ วันนี้กรีนเนอรี่โซลูชั่นจะมาไขข้อสงสัย พร้อมทั้งแนะนำระบบโซล่าเซลล์ประเภทต่างๆ ที่เหมาะสมกับคุณ

1. ระบบออนกริด (On-Grid Solarcell)

ระบบออนกริด คือ ระบบพลังงานแสงอาทิตย์ที่เชื่อมต่อกับกริดไฟฟ้าของสาธารณะ โดยมีคุณสมบัติเชื่อมต่อกับโครงข่ายไฟฟ้าของรัฐบาลหรือการไฟฟ้า ซึ่งช่วยให้สามารถส่งไฟฟ้าที่ผลิตจากแผงโซลาร์เซลล์กลับไปยังกริดได้ในช่วงที่ผลิตไฟฟ้ามากเกินไป เมื่อแผงโซลาร์ผลิตไฟฟ้าไม่พอสำหรับการใช้งานในบ้านหรืออาคาร ระบบจะดึงไฟฟ้าจากกริดเพื่อให้การใช้งานต่อเนื่องไม่สะดุด หากผลิตไฟฟ้าได้มากกว่าความต้องการของตนเอง ระบบสามารถส่งไฟฟ้าส่วนเกินกลับไปขายให้กับการไฟฟ้า ซึ่งผู้ใช้จะได้รับเงินจากการขายไฟฟ้าเหล่านั้น

องค์ประกอบสำคัญของระบบ

  • แผงโซลาร์เซลล์ (Solar Panels) : ใช้สำหรับการแปลงพลังงานแสงอาทิตย์เป็นไฟฟ้ากระแสตรง (DC)
  • อินเวอร์เตอร์ (Inverter) : แปลงไฟฟ้ากระแสตรง(DC) ที่ผลิตจากแผงโซลาร์เซลล์ให้เป็นไฟฟ้ากระแสสลับ(AC) ที่สามารถใช้งานในบ้านหรืออาคารได้
  • มิเตอร์วัดพลังงาน (Smart Power Meter) : ใช้ในการวัดการผลิตและการใช้ไฟฟ้าในบ้านหรืออาคาร รวมถึงการส่งไฟฟ้ากลับเข้าสู่กริด ในบางรุ่นสามารถปรับตั้งให้มีฟังก์ชั่นการการย้อนกลับของกระแสไม่ให้ไหลย้อนกลับเข้ากริดได้ด้วย
  • กริด (Grid) : ระบบโครงข่ายไฟฟ้าของสาธารณะ ได้แก่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค(PEA) หรือการไฟฟ้านครหลวง(MEA) ที่สามารถรับไฟฟ้าที่ผลิตจากระบบโซลาร์และส่งไปยังผู้ใช้ไฟฟ้าคนอื่น

หลักการทำงานของระบบออนกริด

  1. ระบบโซล่าออนกริดจะผลิตไฟฟ้าจากแผงโซลาร์เซลล์ในช่วงกลางวัน โดยไฟฟ้าที่ผลิตได้จะถูกใช้ภายในบ้านหรืออาคารเป็นหลัก.หากมีไฟฟ้าส่วนเกิน
  2. ระบบจะส่งไฟฟ้ากลับเข้าสู่กริดผ่านอินเวอร์เตอร์ ซึ่งทำให้เจ้าของบ้านสามารถขายไฟฟ้าส่วนเกินให้กับการไฟฟ้า
  3. หากในช่วงที่แผงโซลาร์ผลิตไฟฟ้าไม่พอ เช่น กลางคืน หรือช่วงที่มีเมฆมาก ระบบจะดึงไฟฟ้าจากกริดมาใช้ตามความต้องการ

ข้อดีของระบบออนกริด

  • ประหยัดค่าไฟฟ้า : ช่วยลดการใช้งานไฟฟ้าจากกริด ทำให้ค่าไฟฟ้าลดลงในระยะยาว
  • การขายไฟฟ้ากลับ : สามารถขายไฟฟ้าส่วนเกินให้กับการไฟฟ้าได้ สร้างรายได้เสริมหรือเครดิต
  • ต้นทุนติดตั้งต่ำกว่า : เนื่องจากไม่จำเป็นต้องใช้แบตเตอรี่สำหรับเก็บพลังงาน ทำให้ต้นทุนเริ่มต้นถูกกว่า
  • ลดการพึ่งพาไฟฟ้าจากกริด : ช่วยลดการใช้พลังงานจากแหล่งที่มีมลพิษและลดการพึ่งพาไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานฟอสซิล

ข้อเสียของระบบออนกริด

  • ต้องการพื้นที่สำหรับติดตั้ง : จำเป็นต้องมีพื้นที่สำหรับติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์
  • ไม่สามารถใช้งานในเวลากลางคืน : เมื่อไม่มีแสงแดด ระบบไม่สามารถผลิตไฟฟ้าได้ ต้องพึ่งพาไฟฟ้าจากกริด
  • อุปกรณ์เฉพาะที่ต้องใช้ : ต้องมีการติดตั้งอินเวอร์เตอร์และมิเตอร์วัดพลังงานที่สามารถเชื่อมต่อกับกริดไฟฟ้าได้

ระบบออนกริดเหมาะกับใคร

  • บ้านหรือธุรกิจที่มีการใช้ไฟฟ้าในระยะยาว : ผู้ที่มีการใช้งานไฟฟ้าในช่วงกลางวัน เช่น บ้านที่มีการใช้ไฟฟ้ามากในช่วงกลางวันหรือธุรกิจขนาดเล็กที่เปิดทำการในช่วงเวลากลางวัน
  • พื้นที่ที่มีการเข้าถึงกริดไฟฟ้า : เนื่องจากระบบนี้ต้องเชื่อมต่อกับกริดไฟฟ้าจึงเหมาะกับพื้นที่ที่มีการเข้าถึงโครงข่ายไฟฟ้าของรัฐบาล
  • ผู้ที่ต้องการประหยัดค่าไฟฟ้าในระยะยาว : ระบบออนกริดเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่ต้องการลดค่าไฟฟ้าในระยะยาว โดยไม่ต้องลงทุนในแบตเตอรี่.

2. ระบบออฟกริด (Off-Grid Solarcell)

ระบบออฟกริด คือระบบผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ที่ ไม่เชื่อมต่อกับสายส่งไฟฟ้าของการไฟฟ้า หรือเครือข่ายภายนอก โดยระบบนี้จะทำงานแบบ อิสระ (Independent) โดยใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ที่แปลงเป็นพลังงานไฟฟ้า ซึ่งจะใช้ทันทีในตอนกลางวันหรือจะจัดเก็บในแบตเตอรี่เพื่อใช้งานเมื่อจำเป็น เช่น ในตอนกลางคืนหรือช่วงที่ไม่มีแสงแดด ก็ได้

องค์ประกอบสำคัญของระบบ

  • แผงโซลาร์เซลล์ (Solar Panels) : ใช้สำหรับการแปลงพลังงานแสงอาทิตย์เป็นไฟฟ้ากระแสตรง (DC)
  • อินเวอร์เตอร์ (Inverter) : แปลงไฟฟ้ากระแสตรง(DC) ที่ผลิตจากแผงโซลาร์เซลล์ให้เป็นไฟฟ้ากระแสสลับ(AC) ที่สามารถใช้งานในบ้านหรืออาคารได้
  • แบตเตอรี่ (Battery) : เก็บพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้สำหรับใช้งานในภายหลัง
  • ครื่องควบคุมการชาร์จ (Charge Controller) : ควบคุมการชาร์จไฟเข้าแบตเตอรี่ ป้องกันการชาร์จไฟเกิน

หลักการทำงานของระบบออฟกริด

  1. แผงโซล่าเซลล์ ผลิตไฟฟ้าในช่วงกลางวันที่มีแสงอาทิตย์
  2. พลังงานไฟฟ้า ส่วนหนึ่งถูกใช้ในขณะนั้นทันที ส่วนที่เหลือจะถูกส่งไปชาร์จเก็บในแบตเตอรี่เมื่อแสงอาทิตย์หมดลง
  3. เมื่อแสงอาทิตย์หมดลง ระบบจะดึงพลังงานจากแบตเตอรี่มาใช้งานแทน

ข้อดีของระบบออฟกริด

  • พึ่งพาตนเองได้อย่างเต็มที่ เหมาะสำหรับพื้นที่ห่างไกล ไม่มีสายส่งไฟฟ้า เช่น ชุมชนชนบท เกาะ หรือสถานที่ห่างไกล
  • ไม่มีค่าไฟฟ้ารายเดือน เพราะไม่ได้เชื่อมต่อกับการไฟฟ้า
  • มั่นคงในพื้นที่ไม่มีไฟฟ้า ไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับไฟฟ้าดับจากเครือข่าย

ข้อเสียของระบบออฟกริด

  • ต้นทุนเริ่มต้นสูง เนื่องจากต้องใช้แบตเตอรี่ที่มีความจุเพียงพอและเครื่องควบคุมที่เหมาะสม นอกเหนือจากนี้ยังมีต้นทุนของแผงโซล่าเซลล์ที่จะต้องติดตั้งจำนวนแผงให้เพียงพอกับความต้องการใช้ และต้องเหลือเพียงพอที่จะนำไปชาร์จเก็บในแบตเตอรี่ให้เพียงพอต่อการใช้กลางคืน
  • พลังงานจำกัดตามขนาดแบตเตอรี่ หากแบตเตอรี่หมด ระบบจะไม่สามารถใช้งานได้จนกว่าจะผลิตพลังงานใหม่
  • ในฤดูกาลที่แสงแดดน้อย จะส่งผลให้ผลิตไฟฟ้าได้น้อย ทำให้ไฟที่ชาร์จลงในแบตเตอรี่น้อยตามไปด้วย ทำให้ต้องควบคุมการใช้พลังงานไฟฟ้าให้เพียงพอ
  • การบำรุงรักษาแบตเตอรี่ แบตเตอรี่มีอายุการใช้งานจำกัดและต้องเปลี่ยนเมื่อเสื่อมสภาพ

ระบบออฟกริดเหมาะกับใคร

  • ผู้ที่อาศัยในพื้นที่ห่างไกลที่ไม่มีไฟฟ้าจากการไฟฟ้า
  • ผู้ที่ต้องการพลังงานอิสระแบบไม่พึ่งพาใคร
  • เกษตรกรที่มีการใช้เครื่องจักรในการทำการเกษตรในช่วงกลางวัน เช่น การใช้เครื่องสูบน้ำที่มีการสูบอย่างต่อเนื่อง พื้นที่เพาะปลูกตลอดพื้นที่การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ที่ต้องการลดค่าใช้จ่ายค่าไฟในการจัดการน้ำ

3. ระบบไฮบริด (Hybrid Solarcell)

โซล่าเซลล์ระบบไฮบริด คือระบบผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ที่ ผสานข้อดีของระบบ On-Grid และ Off-Grid เข้าไว้ด้วยกัน โดยสามารถเชื่อมต่อกับสายส่งไฟฟ้าของการไฟฟ้า และยังมี แบตเตอรี่สำรอง สำหรับเก็บพลังงานไฟฟ้าเพื่อใช้งานในช่วงที่ไม่มีแสงอาทิตย์ หรือในกรณีไฟฟ้าดับได้ โดยระบบไฮบริด

องค์ประกอบสำคัญของระบบ

  • แผงโซลาร์เซลล์ (Solar Panels) : ใช้สำหรับการแปลงพลังงานแสงอาทิตย์เป็นไฟฟ้ากระแสตรง (DC)
  • อินเวอร์เตอร์แบบไฮบริด (Hybrid Inverter) เป็นอุปกรณ์ที่รวมฟังก์ชันการแปลงไฟฟ้ากระแสตรง(DC) เป็นกระแสสลับ(AC) และการควบคุมการจ่ายพลังงานทั้งจากแบตเตอรี่และจากกริด
  • มิเตอร์วัดพลังงาน (Smart Power Meter) : ใช้ในการวัดการผลิตและการใช้ไฟฟ้าในบ้านหรืออาคาร รวมถึงการส่งไฟฟ้ากลับเข้าสู่กริด ในบางรุ่นสามารถปรับตั้งให้มีฟังก์ชั่นการการย้อนกลับของกระแสไม่ให้ไหลย้อนกลับเข้ากริดได้ด้วย
  • แบตเตอรี่ (Battery) : เก็บพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้สำหรับใช้งานในภายหลัง
  • ครื่องควบคุมการชาร์จ (Charge Controller) : ควบคุมการชาร์จไฟเข้าแบตเตอรี่ ป้องกันการชาร์จไฟเกิน
  • กริด (Grid) : ระบบโครงข่ายไฟฟ้าของสาธารณะ ได้แก่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค(PEA) หรือการไฟฟ้านครหลวง(MEA) ที่สามารถรับไฟฟ้าที่ผลิตจากระบบโซลาร์และส่งไปยังผู้ใช้ไฟฟ้าคนอื่น

หลักการทำงานของระบบไฮบริด

  1. กลางวัน : แผงโซล่าเซลล์ผลิตไฟฟ้า ส่วนหนึ่งใช้ทันที ส่วนที่เหลือเก็บในแบตเตอรี่
  2. กลางคืน : ระบบดึงพลังงานจากแบตเตอรี่มาใช้ก่อน
  3. กรณีไฟฟ้าดับ : ระบบดึงพลังงานจากแบตเตอรี่เพื่อใช้งานอย่างต่อเนื่อง
  4. กรณีแบตเตอรี่หมด : ระบบจะดึงพลังงานจากการไฟฟ้า

ข้อดีของระบบไฮบริด

  • สำรองพลังงานไฟฟ้าได้ : ด้วยแบตเตอรี่สำหรับเก็บพลังงาน ใช้ได้ในกรณีฉุกเฉิน เช่น ไฟฟ้าดับ
  • ผสมผสานพลังงานอย่างยืดหยุ่น : ใช้พลังงานจากโซล่าเซลล์โดยตรง จากการไฟฟ้า และจากแบตเตอรี่ได้อย่างเหมาะสม
  • มีเสถียรภาพของระบบไฟฟ้าภายในบ้านสูง

ข้อเสียของระบบไฮบริด

  • ต้นทุนเริ่มต้นสูง : รวมค่าติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ แบตเตอรี่ และอินเวอร์เตอร์ไฮบริด
  • การดูแลรักษาซับซ้อน : แบตเตอรี่ต้องการการดูแลและมีอายุการใช้งานจำกัด
  • ประสิทธิภาพขึ้นอยู่กับการออกแบบระบบ : หากคำนวณความจุของแบตเตอรี่และจำนวนแผงโซล่าเซลล์ไม่เหมาะสม อาจเกิดปัญหาการผลิตและจ่ายไฟไม่เพียงพอ

ระบบไฮบริดเหมาะกับใคร

  • ผู้ที่ต้องการลดค่าไฟฟ้าและมีพลังงานสำรองในกรณีฉุกเฉิน
  • บ้านที่อยู่ในเขตไฟฟ้าดับบ่อย
  • ธุรกิจหรือโรงงานที่ต้องการพลังงานต่อเนื่องเพื่อป้องกันความเสียหายจากไฟฟ้าขัดข้อง

สรุปเปรียบเทียบระบบโซล่าทั้ง 3 รูปแบบ

การเลือกติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ควรพิจารณาจากความต้องการใช้งาน งบประมาณ และสภาพแวดล้อมเป็นสำคัญ

  • On-Grid เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการประหยัดค่าไฟในระยะยาว โดยใช้ไฟฟ้าจากโซล่าในช่วงกลางวัน และสามารถขายไฟฟ้าส่วนเกินกลับเข้าสู่ระบบไฟฟ้าสาธารณะได้ ระบบนี้มีต้นทุนเริ่มต้นต่ำที่สุด แต่ไม่สามารถใช้งานในกรณีที่ไฟดับ
  • Off-Grid เหมาะสำหรับพื้นที่ห่างไกลที่ไม่มีการเชื่อมต่อกับกริดไฟฟ้า ระบบนี้ทำให้พึ่งพาตัวเองได้อย่างเต็มที่ แต่มีค่าใช้จ่ายสูง เนื่องจากต้องติดตั้งแบตเตอรี่และอุปกรณ์สำรองพลังงาน
  • Hybrid เป็นทางเลือกที่ยืดหยุ่นที่สุด ผสมข้อดีของทั้งสองระบบ ใช้งานไฟฟ้าจากโซล่าได้อย่างเต็มที่ในช่วงกลางวัน เก็บไฟฟ้าในแบตเตอรี่ไว้ใช้งาน และยังดึงไฟจากกริดเมื่อจำเป็น แต่ต้นทุนการติดตั้งค่อนข้างสูง

 

การเลือกติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ควรพิจารณาจากความต้องการใช้งาน งบประมาณ และสภาพแวดล้อมเป็นสำคัญ

หากคุณต้องการเลือกระบบโซล่าฯ ให้เหมาะกับบ้าน ธุรกิจ หรือพื้นที่ของคุณ เราคือผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมให้คำปรึกษาและช่วยคุณเลือกระบบที่ตอบโจทย์การใช้งานและงบประมาณได้ดีที่สุด ✨ ให้เราดูแลทุกขั้นตอน ตั้งแต่การออกแบบ การติดตั้ง จนถึงบริการหลังการขาย เพื่อให้คุณมั่นใจในคุณภาพและความคุ้มค่าของการลงทุนพลังงานสะอาด

ติดต่อเรา Greenery Solutions แล้วมาร่วมสร้างอนาคตที่ประหยัดและยั่งยืนไปด้วยกัน

Tel : 093-1168838

Website : greenery-solutions.com

Line : https://lin.ee/qeGMhoe

Facebook : https://www.facebook.com/greenerysolutionsthailand

Email : solutionsgreenery@gmail.com

________________________________________

#solarcell #ติดตั้งโซล่าเซลล์ #ระบบโซล่าเซลล์ #แผงโซล่าเซลล์ #ลดค่าไฟ #โซล่าเซลล์เชียงใหม่ #โซล่าเซลล์ #SolarRoof

แชร์บทความนี้